เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.
2. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[309] 1. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

12. อาเสวนปัจจัย


[310] 1. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
2. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย.